อาหารสำหรับดวงตา 10 ชนิด

1. พริกหยวก
พริกหยวกอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งดีต่อเส้นเลือดแดงในลูกตา ผลวิจัยพบว่าวิตามินซีช่วยลดโอกาสการเกิดต้อกระจก(Cataract)ได้อีกด้วย ยังมีผักและผลไม้อีกหลายอย่างที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผักกวางตุ้ง , กะหล่ำดอก , มะละกอ และ สตอเบอรี่ ความร้อนจะทำให้วิตามินซีถูกทำลาย ดังนั้นการทานผักและผลไม้ให้ได้วิตามินซีเต็มที่ต้องทานแบบสดไม่ผ่านความร้อน พริกหยวกสีแดงนอกจากจะให้วิตามินซีสูงแล้ว พริกหยวกสีเขียวและสีเหลืองยังให้วิตามิน A และ E ซึ่งเป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

 

2. เมล็ดทานตะวันและถั่วต่างๆ
เมล็ดทานตะวัน ถั่วหรืออัลมอนด์ในปริมาณ 1 ออนซ์ (ประมาณ 28 กรัม) มีปริมาณวิตามินอีสูงถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน จากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีวิตามินอีหลายชนิด ช่วยชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ (AMD : Aged-related macular degeneration) และสามารถป้องกันโรคต้อกระจกได้ แหล่งอาหารอื่นๆที่ให้วิตามินอีปริมาณสูง ได้แก่ เฮเซลนัท และเนยถั่ว

 

3. ผักใบเขียว
กลุ่มผักใบเขียว เช่น เคล, ผักโขม มีปริมาณวิตามินซีและวิตามินอีสูง นอกจากนี้ยังมีสารแคโรทีนอยด์ , ลูทีน และซีเซนทีนที่ให้วิตามินเอแก่ร่างกายจึงช่วยบำรุงดวงตา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตาในระยะยาว เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD : Aged-related macular degeneration) และ ต้อกระจก (Cataracts) ได้ คนส่วนใหญ่ที่รับประทานอาหารแนวตะวันตกมักจะได้รับสารอาหารประเภทนี้ไม่เพียงพอ

 

4. ปลาแซลมอน
จอประสาทตาของคุณต้องการกรดไขมันโอเมก้า 3 สองชนิดเพื่อให้ทำงานได้ปกติ : DHA และ EPA โดยกรดไขมันทั้งสองชนิดสามารถหาได้จากปลาที่มีไขมันเยอะๆ เช่น ปลาแซลมอน , ปลาทูน่า และปลาเทราท์ รวมถึงอาหารทะเลอื่นๆ โอเมก้า 3 ช่วยป้องกันการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD : Aged-related macular degeneration) และโรคต้อหิน (Glaucoma) โดยกรดไขมันเหล่านี้ถ้าได้รับไม่เพียงพออาจทำให้เชื่อมโยงไปถึงอาการตาแห้งได้

 

5. มันหวาน
ผลไม้และผักสีส้ม เช่น มันหวาน,แครอท,แคนตาลูป,มะม่วง และแอปริคอต มีสารเบต้าเคโรทีนสูง ซึ่งเป็นสารที่ให้วิตามินเอแก่ร่างกาย ช่วยในการมองเห็นในเวลากลางคืน ทำให้ดวงตาสามารถปรับการรับแสงในที่มืดได้ มันหวานหนึ่งหัวให้ปริมาณวิตามินซีมากกว่าที่ร่างกายเราต้องการต่อวันและนอกจากวิตามินซีแล้วยังมีวิตามินอีอีกเล็กน้อยรวมอยู่ด้วย

 

6. เนื้อสัตว์ไขมันต่ำและสัตว์ปีก
สังกะสีจะนำวิตามินเอจากตับไปที่จอประสาทตา เพื่อปกป้องเม็ดสีเมลานินในดวงตา หอยนางรมมีธาตุสังกะสีมากกว่าอาหารประเภทอื่นๆ หากคุณไม่ได้ชื่นชอบการรับประทานหอยนางรมก็สามารถได้รับสารอาหารชนิดนี้อย่างเพียงพอได้จากอาหารอื่นๆ โดยแหล่งอาหารชั้นดีที่มีสังกะสี เช่น เนื้อวัว , เนื้อหมู และเนื้อไก่ (ทั้งส่วนเนื้อสะโพกและส่วนอก)

 

7.ถั่วและพืชตระกูลถั่ว
พืชตระกูลถั่วเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำและเส้นใยสูง ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้ที่ทานมังสาวิรัติด้วย ช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์การมองเห็นช่วงกลางคืนและชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD : Aged-related macular degeneration) ถั่วลูกไก่หรือถั่วชิกพีมีปริมาณสังกะสีสูงเช่นเดียวกับถั่วดำ,ถั่วขาวและถั่วเลนทิล การรับประทานถั่วอบหนึ่งกระป๋องก็ช่วยให้รับสารอาหารเพียงพอด้วยเช่นกัน

 

8. ไข่
ในไข่มีสังกะสีที่ช่วยให้ร่างกายของคุณใช้ลูทีนและซีเซนทีนจากไข่แดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารสีเหลืองส้มจากไข่แดงจะช่วยป้องกันดวงตาจากแสงสีฟ้า โดยเพิ่มปริมาณเม็ดสีของจอประสาทตา ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่รับภาพและสัมผัสกับแสงสีฟ้า

 

9. พืชกลุ่มฟักทอง และแตงต่างๆ
เนื่องจากร่างกายของคุณไม่สามารถสร้างลูทีนและซีเซนทีนได้ แต่คุณสามารถรับสารอาหารเหล่านี้ได้จากฟักทองและพืชตระกูลแตงต่างๆได้ตลอดทั้งปี ในฤดูร้อนพืชตระกูลแตงและฟักทองจะให้วิตามินซีและสังกะสี ส่วนในฤดูหนาวพืชประเภทนี้จะให้วิตามินเอ,วิตามินซี และโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยชะลอในการเกิดจอประสาทตาเสื่อม (AMD : Aged-related macular degeneration) ได้อีกด้วย

 

10. บล็อกโคลีและกะหล่ำปลี
บล็อกโคลีและกะหล่ำปลีเป็นพืชตระกูลเดียวกัน ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งวิตามินเอ(ลูทีน,ซีเซนทีนและเบต้าเคโรทีน) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันดวงตาของเราจากสารอนุมูลอิสระต่างๆที่จะไปทำลายเนื้อเยื่อและโมเลกุลต่างๆของเซลล์ ถ้ามีสารอนุมูลอิสระมากเกินไปอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคที่จอประสาทตา

 

https://www.webmd.com/eye-health/ss/slideshow-eyes-sight-foods